ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค มะเร็งต่อมลูกหมาก

Last updated: 13 ส.ค. 2565  |  226 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค มะเร็งต่อมลูกหมาก
สาเหตุของการเกิด โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นอีกโรคหนึ่งที่ทางการแพทย์ยังคงไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนถึงสาเหตุของการเกิด แต่สามารถบ่งบอกถึงปัจจัยเสี่ยง ที่จะทำให้เกิดโรค มะเร็งต่อมลูกหมาก ได้

ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรค มะเร็งต่อมลูกหมาก
  อายุ ความเสี่ยงของ มะเร็งต่อมลูกหมาก จะเพิ่มขึ้นตามอายุโดยเฉพาะหลังอายุ 50 ปี
  เชื้อชาติ คนเชื้อชาติผิวสีดำ (แอฟริกัน-อเมริกัน) จะมีความเสี่ยงในการเป็น มะเร็งต่อมลูกหมาก มากกว่าประชากรชายผิวขาว
  ประวัติครอบครัว โดยพบว่าหากมีคนในครอบครัวเป็น มะเร็งต่อมลูกหมาก จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 20% เนื่องจากคาดว่ามาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยเฉพาะครอบครัวที่มีบิดาหรือพี่ชาย/น้องชายเป็น มะเร็งต่อมลูกหมาก หรือมีคนในครอบครัวที่เป็นมะเร็งชนิดอื่น
  การสูบบุหรี่ เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิด มะเร็งต่อมลูกหมาก โดยการสูบบุหรี่อาจทำให้ระดับฮอร์โมนเพศชายเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้ มะเร็งต่อมลูกหมากเติบโต และทำให้ มะเร็งต่อมลูกหมากรุนแรง และลุกลามเร็วกว่าปกติ
  ความอ้วน ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน โดยเฉพาะผู้ชายที่อยู่ในภาวะ “อ้วนลงพุง” มีความเสี่ยงต่อการเป็น มะเร็งต่อมลูกหมาก สูงกว่าผู้ที่มีน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน
  อาหารไขมันสูง เช่น อาหารจำพวกเนื้อแดง เป็นสาเหตุหนึ่งในการเกิด มะเร็งต่อมลูกหมาก

อาหาร หนึ่งในปัจจัยก่อให้เกิด มะเร็งต่อมลูกหมาก ที่สำคัญ
หลายงานวิจัยพบว่า “อาหาร” เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่เกี่ยวข้องกับการเกิด โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก อย่างชัดเจน ซึ่งอาหารบางประเภทก็ใกล้ตัวมาก จนบางท่านก็ยังรับประทานอยู่เป็นประจำ โดยไม่รู้ตัวเลยว่านั่นคือความเสี่ยงหลัก ของ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยอาหารที่มีความเสี่ยงในการก่อให้เกิดโรค มะเร็งต่อมลูกหมาก ได้แก่

อาหารไขมันสูง
อาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารฟาสต์ฟู้ด เนื้อติดมัน อาหารทอด เบคอน แฮม ฯลฯ ไขมันจะถูกย่อยเป็นกรดไขมัน และ กรดไขมัน เหล่านี้จะเข้าไปกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระขึ้นในร่างกายจำนวนมาก ทำให้เซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลง เป็นเซลล์มะเร็ง ได้ง่าย

อย่างไรก็ตามไขมันยังคงมีความจำเป็นต่อร่างกายด้วยเช่นกัน จึงควรหันมาบริโภคอาหาร ที่มีกรดไขมันดี เช่น ถั่วต่างๆ ปลาที่มีโอเมก้า 3 สูง เช่น แซลมอน ทูน่า หรือปลาซาดีน น้ำมันดี ได้แก่ น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนล่า ในปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสม ก็จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิด โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

นม
ในวัยเด็กเรามักจะดื่มนมอยู่เป็นประจำทุกวัน เพราะจะได้รับสารอาหารหลากหลายชนิด ที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย และยังเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค อย่างไรก็ตามมีงานวิจัยออกมาว่าการ กินนมมากเกินไป มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงการเกิด
มะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่ามีบางอย่างในน้ำนม ที่เพิ่มความเสี่ยงการเกิด มะเร็งต่อมลูกหมาก มากกว่าการได้รับแคลเซียม จากแหล่งที่ไม่ใช่น้ำนม แม้งานวิจัยนี้ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจน แต่ก็มีคำแนะนำว่า ให้ดื่มนมหรือผลิตภัณฑ์จากนมในปริมาณพอเหมาะ
อยู่ที่ประมาณ 1,000 มิลลิกรัม ในผู้ชายอายุ 51-70 ปี และ 1,200 มิลลิกรัมสำหรับผู้ชายอายุตั้งแต่ 71 ปีขึ้นไป

เนื้อแดง
ทุกวันนี้เนื้อแดงที่วางขายอยู่ทั่วไป มักจะมีสารเคมีประเภทไนเตรตและไนไตรต์ ซึ่งเป็นสารเร่งเนื้อแดง ทำให้มีสีแดงน่ารับประทาน รวมถึงสารที่ทำให้เนื้อไม่เน่าเสีย พบมากในอาหารจำพวกแฮม ไส้กรอก ฯลฯ เมื่อร่างกายของเรา ได้รับสารเหล่านี้เข้าไปสะสมในร่างกายมากเกินไป ก็จะเป้นอันตรายต่อสุขภาพ
ผลของการที่มีสารไนเตรตและไนไตรต์ สะสมเป็นระยะเวลานาน มีโอกาสทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง เสี่ยงต่อการเป็น โรคมะเร็งที่อวัยวะต่างๆ เช่น กระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น

สำหรับอาหารทุกประเภทล้วนมีประโยชน์ต่อร่างกาย หากได้รับในปริมาณที่เหมาะสม และมีการปรุงสุกอย่างถูกวิธี จึงไม่ควรวิตกกังวลมากจนเกินไป

อาหารอะไรบ้าง ที่ช่วยป้องกัน โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
หลายคนอาจไม่เคยรู้เลยว่า อาหารหลายอย่างมีประโยชน์ และยังช่วยป้องกัน ลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้อีกด้วย เรื่องของอาหารการกิน จึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญ ที่ทุกคนควรใส่ใจและมองข้ามไม่ได้ โดยอาหารที่แนะนำว่ามีผลต่อการป้องกันโรค ได้แก่ สารไลโคปีน (Lycopene-Rich Foods)

มะเขือเทศ
เป็นอาหารที่ได้รับการยอมรับจากผลการวิจัยว่า สารไลโคปีนที่เป็นสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ มีส่วนช่วยในการชะลอการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งโดยเฉพาะ มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะมะเขือเทศที่ปรุงสุก เพราะร่างกายสามารถดูดซึมและนำสารไลโคปีนไปใช้ได้ง่าย จะยิ่งช่วยให้ร่างกายได้รับไลโคปีนได้มากกว่า การรับประทานมะเขือเทศสด ผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศ ได้แก่ มะเขือเทศปรุงสุก ซอสมะเขือเทศ น้ำมะเขือเทศ ซุปมะเขือเทศ ฯลฯ สามารถลดอัตราการเกิด มะเร็งต่อมลูกหมาก ได้ถึง 33% และการกระจายตัวของ มะเร็งต่อมลูกหมาก ลดลง 36%

สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) และสารไอโซฟลาโวน (Isoflavone)
มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ และ ยับยั้งการก่อตัวของเซลล์มะเร็ง สารฟลาโวนอยด์และสารไอโซฟลาโวนพบมากในถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง (Soy) มากที่สุด และพบสารนี้ได้บ้างในไวน์แดง ลูกทับทิม และแครนเบอร์รี

SELENIUM
SELENIUM มีฤทธิ์ยับยั้งการเติบโตของ เซลล์มะเร็ง ไม่ได้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระโดยตรง แต่มีส่วนช่วยในการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระอื่นๆ ซึ่งจากการศึกษา ทางวิทยาศาสตร์ ทำให้เชื่อว่า SELENIUM สามารถลดปัจจัยเสี่ยง ต่อการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้ ร้อยละ 50-65 พบมากใน ข้าว ถั่ว ปลา กระเทียม

สังกะสี
มีการศึกษาพบว่า สังกะสี จะไปสะสมที่ ต่อมลูกหมาก เป็นจำนวนมากกว่าอวัยวะอื่น และอาจมีผลการลุกลามของ มะเร็งต่อมลูกหมาก ได้ ยับยั้งการเจริญของเซลล์ มะเร็งต่อมลูกหมาก ได้ สังกะสี เป็นสารอาหารที่พบได้มากใน อาหารกลุ่มที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ ตับ นม ปู กุ้ง ไข่ หอยนางรม พืชผัก เช่น ข้าวกล้อง เมล็ดทานตะวัน เมล็ดพืช ผักใบเขียวต่างๆ

วิตามินดี
วิตามินดี มีหน้าที่สำคัญในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ( IMMUNE SYSTEM ) ช่วยเซลล์เม็ดเลือดขาว ที่มีหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอม ที่เข้ามาคุกคามร่างกาย เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เซลล์มะเร็ง วิตามินดีจึง D มีผลในการลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด มะเร็งต่อมลูกหมาก และลดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ ซึ่งวิตามิน D ที่ได้รับส่วนมาก ได้รับมาจากการสัมผัสกับแสงแดด เนื่องจากร่างกายสามารถสังเคราะห์วิตามินดีเองได้ใต้ชั้นผิวหนัง ผ่านการกระตุ้นจากรังสี UVB

วิตามินอี
วิตามิน E ถือเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง พบได้ในถั่วอัลมอนต์ ข้าวโพด ข้าวสาลี ถั่วเหลือง มะม่วง ผักบล็อกโคลี

รับข่าวสารก่อนใครคลิกเลย 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้