Last updated: 24 ส.ค. 2565 | 247 จำนวนผู้เข้าชม |
มะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็น โรคมะเร็ง ชนิดหนึ่งที่พบได้มากในผู้ชาย โดยมักพบได้ในผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ( พบได้บ่อยในผู้ชายอายุเฉลี่ยประมาณ 70 ปี ส่วนในช่วงอายุ 40-60 ปี อาจพบได้แต่น้อย ) ในสหรัฐอเมริกาพบคน เป็น โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ได้สูงถึง 70-80% เมื่ออายุมากกว่า 80 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ทั่วโลกพบ มะเร็งต่อมลูกหมาก ได้บ่อยเป็นอันดับ 2 ของ มะเร็งในผู้ชาย ทั้งหมดรองจาก มะเร็งปอด โดยในสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2551 พบผู้ป่วยใหม่เป็น โรค มะเร็งต่อมลูกหมาก ได้สูงถึง 186,000 ราย และจากสถิติล่าสุดในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี พ.ศ.2557 คาดว่าจะพบผู้ป่วยใหม่เป็น โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ได้มากถึง 233,000 คน หรือคิดเป็น 24% ของมะเร็งทั้งหมด ส่วนในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2544-2546 พบผู้ป่วยเป็นโรคนี้ 5.5 ราย ต่อประชากร 100,000 คน
สาเหตุของ มะเร็งต่อมลูกหมาก
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิด โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่พบปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค ได้แก่
ผู้สูงอายุ ยิ่งอายุมากขึ้น โอกาสเกิด โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ก็ยิ่งสูงขึ้น เพราะส่วนใหญ่จะพบโรคนี้ได้มากในผู้ชายสูงอายุที่มีอายุ 50-60 ปีขึ้นไป ( อายุโดยเฉลี่ยคือประมาณ 70 ปี และพบว่า 2 ใน 3 ของผู้ป่วยนั้นจะมีอายุมากกว่า 65 ปี )
พันธุกรรม ผู้ที่มีพ่อหรือพี่น้อง ( บุคคลในครอบครัวสายตรง ) เป็น โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ได้มากกว่าคนทั่วไปประมาณ 3 เท่า ส่วนการมีญาติผู้หญิงที่ป่วยเป็น โรคมะเร็งเต้านม ก็อาจทำให้เสี่ยงต่อการเป็น โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ได้สูงขึ้นเช่นกัน
เชื้อชาติ เพราะพบโรคนี้ได้มากในกลุ่มชายชาวตะวันตกทั้งในยุโรปและอเมริกา ในขณะที่ชาวเอเชียจะพบได้น้อยกว่า (พบได้สูงสุดในชายชาวสแกนดิเนเวีย และพบได้ต่ำสุดในชายชาวเอเชีย)
อาหาร โรคนี้อาจมีความสัมพันธ์กับการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่ให้พลังงานสูง และอาหารจำพวกเนื้อแดงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการบริโภคผักและผลไม้น้อย
การสูบบุหรี่ พบว่ามีการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้เล็กน้อย แต่ยังต้องมีการศึกษาต่อไป
การมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน ( TESTOSTERONE ) ในเลือดสูง เช่น จากการใช้ฮอร์โมนชนิดนี้เป็นเวลานานๆ
ความอ้วน เนื่องจาก มะเร็ง ชนิดนี้จะพบได้มากในคนอ้วน และมักจะเป็น มะเร็ง ชนิดร้ายแรง และรักษาได้ยากกว่าคนที่ไม่อ้วน
อาการของ มะเร็งต่อมลูกหมาก
เกิดอาการถ่ายปัสสาวะลำบาก ติดขัด ทำให้ต้องออกแรงเบ่งหรือรอนานกว่าจะถ่ายปัสสาวะออกมาได้ ทำให้ใช้เวลาในการถ่ายปัสสาวะนาน
ปัสสาวะไม่พุ่งเป็นลำ ลำปัสสาวะเบี้ยว แผ่ว หรือเล็กลง
มีความรู้สึกเหมือนถ่ายปัสสาวะไม่สุด
ปัสสาวะบ่อย ห่างกันไม่ถึง 1-2 ชั่วโมง เมื่อมีความรู้สึกเวลาปวดปัสสาวะจะต้องรีบเข้าห้องน้ำทันที ( โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนจะปัสสาวะบ่อยผิดปกติ ทำให้หลังเข้านอนต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะบ่อยๆ หรือปัสสาวะราด )
เมื่อเป็นมากขึ้นผู้ป่วยจะถ่ายปัสสาวะไม่ออก รู้สึกปวดปัสสาวะ ปวดตึงท้องน้อย บางรายอาจมีอาการถ่ายปัสสาวะเป็นเลือดหรือมีเลือดออกปนมากับน้ำอสุจิ เนื่องจากการเบ่งถ่ายนานๆ ทำให้หลอดเลือดดำที่ท่อปัสสาวะคั่งแล้วแตกมีเลือดออก
( ในรายที่ถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด อาจเกิดจากเนื้องอกของทางเดินปัสสาวะหรือนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้ )
ระยะของมะเร็งต่อมลูกหมาก
ระยะที่ 1
เป็นระยะเริ่มต้นของโรค ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็ก และตรวจไม่พบก้อนเนื้อจากการคลำผ่านทางทวารหนัก พบมะเร็งเฉพาะใน ต่อมลูกหมาก เพียงกลีบเดียว ยังไม่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
ระยะที่ 2
ก้อนมะเร็งมีขนาดโตขึ้นเล็กน้อย แต่ค่อนข้างมีความรุนแรง และคลำพบผ่านทางทวารหนัก พบมะเร็งทั้งสองกลีบของ ต่อมลูกหมาก ยังไม่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
ระยะที่ 3
เซลล์มะเร็งมีการลุกลามออกนอกต่อมลูกหมากไปยังอวัยวะที่อยู่ข้างเคียง
ระยะที่ 4
เซลล์มะเร็งลุกลามเข้ากระเพาะปัสสาวะ และ/หรือลำไส้ตรง และ/หรือเนื้อเยื่อในช่องท้องน้อย และ/หรือต่อมน้ำเหลือง และ/หรือแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดไปยังกระดูก ปอด ประสาทไขสันหลัง สมอง หรืออวัยวะอื่นๆ
การวินิจฉัย มะเร็งต่อมลูกหมาก
การซักประวัติอาการและการตรวจร่างกาย
1. การตรวจทางทวารหนักเพื่อคลำหาก้อนมะเร็ง ( DIGITAL RECTAL EXAMINARION-DRE ) เนื่องจาก ต่อมลูกหมาก อยู่ติดกับทวารหนัก แพทย์จึงสามารถสวมถุงมือแล้วใช้นิ้วสอดเข้าไปทางทวารหนักเพื่อตรวจคลำขนาดรูปร่างและความยืดหยุ่นของต่อมลูกหมาก ซึ่งในรายที่เป็น โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มักจะพบต่อมลูกหมากเป็นก้อนแข็งหรือขรุขระ
2. การเจาะเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็ง PSA ( PROSTATE SPECIFIC ANTIGEN (PSA) TEST ) เป็นการตรวจเลือดดูค่าสารบ่งชี้มะเร็งที่สร้างโดย เซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก ที่เรียกว่า “พีเอสเอ” ซึ่งมักพบระดับพีเอสเอในเลือดสูงมากกว่าปกติในผู้ป่วย มะเร็งต่อมลูกหมาก
3. การตรวจอัลตราซาวด์ ต่อมลูกหมาก ผ่านทางทวารหนัก ( TRANSRECTAL ULTRASOUND-TRUS ) เป็นการตรวจโดยใช้คลื่นเสียง ซึ่งแพทย์จะใช้เครื่องมือสำหรับตรวจสอดเข้าทางทวารหนักไปยังตำแหน่งขอ งต่อมลูกหมาก เพื่อช่วยในการหาตำแหน่งของก้อนเนื้อ จากนั้นจะเก็บชิ้นเนื้อตัวอย่างจากต่อมลูกหมากด้วยการใช้เข็มขนาดเล็กดูดเซลล ์ต่อมลูกหมาก 12 ตัวอย่างจาก 12 ตำแหน่ง ออกมาตรวจทางพยาธิวิทยาว่ามีเซลล์มะเร็งหรือไม่
ทางเลือกในการรักษา มะเร็งต่อมลูกหมาก
ข้อบ่งชี้ของทางเลือกในการรักษา มะเร็งต่อมลูกหมาก ได้แก่ ตำแหน่ง ขนาด ระยะของเซลล์มะเร็ง สภาพร่างกายและจิตใจ รวมถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภายหลังการรักษา โดยปัจจุบันผู้ป่วยมีทางเลือกในการรักษาดังต่อไปนี้
การผ่าตัด แบ่งออกได้เป็น 2 วิธี คือ
1.การผ่าตัดโดยใช้วิธีส่องกล้อง ( LAPAROSCOPIC RADICAL PROSTATECTOMY )
เป็นการผ่าตัดที่พัฒนามาจากการผ่าตัดเปิดหน้าท้องแบบเดิม ด้วยวิธีนี้ แพทย์จะสอดกล้องขนาดจิ๋วที่เรียกว่า LAPAROSCOPE และเครื่องมือต่างๆ ผ่านแผลผ่าตัดขนาดเล็กห้าจุดบริเวณใต้สะดือ
แล้วทำการผ่าตัดผ่านจอมอนิเตอร์ ผลคือผู้ป่วยเจ็บตัวน้อยลง ฟื้นตัวเร็วขึ้น เกิดผลข้างเคียงน้อยกว่า และผลการรักษาดีกว่าการผ่าตัดใหญ่แบบเปิดหน้าท้อง
2.การผ่าตัดโดยใช้แขนกลช่วยผ่าตัด ( ROBOTIC-ASSISTED DA VINCI SURGERY หรือ DA VINCI PROSTATECTOMY )
เป็นการผ่าตัดโดยใช้แขนกลหุ่นยนต์ที่ควบคุมโดยแพทย์ ซึ่งไม่เพียงช่วยให้ผู้ป่วยเจ็บตัวน้อยลง และฟื้นตัวเร็วขึ้น เช่นเดียวกับการผ่าตัดโดยวิธีส่องกล้องเท่านั้นแต่ยังเพิ่มโอกาสที่ผู้ป่วยจะสามารถควบคุมการกลั้นปัสสาวะ และคงความสามารถในการแข็งตัวของอวัยวะเพศไว้ได้
รังสีรักษา ซึ่งมีทั้งการฝังแร่ต่อมลูกหมาก และการฉายรังสีขึ้นอยู่กับผู้ป่วยว่าเป็น มะเร็งต่อมลูกหมาก ชนิดความเสี่ยงต่ำ ความเสี่ยงปานกลาง หรือความเสี่ยงสูง
การให้ยาเคมีบำบัด ซึ่งปัจจุบันให้ผลการรักษาที่ดีขึ้น ขณะเดียวกันแพทย์ก็มีวิธีบรรเทาอาการไม่พึงประสงค์ซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากยาให้ลดน้อยลงได้
การรักษาด้วยฮอร์โมน เป็นการรักษาเพิ่มเติมหลังการผ่าตัด หรือในกรณีที่ มะเร็งอยู่ในระยะแพร่กระจาย โดยแพทย์จะทำการลดหรือกำจัดฮอร์โมนเพศชายด้วยการใช้ยาต้านฮอร์โมน หรือผ่าตัดเอาอัณฑะออก
อย่าปล่อยให้เป็น ต่อมลูกหมากโต ระยะที่ 3 จนไปเบียดบังท่อทางเดินปัสสาวะ เพราะจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรง จนเป็น มะเร็งต่อมลูกหมาก ดูแลบำบัดรักษาต่อมลูกหมากโตด้วย HASHI-P-FLOW
28 มี.ค. 2566
21 มี.ค. 2566