Last updated: 29 ก.ย. 2565 | 337 จำนวนผู้เข้าชม |
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ผู้หญิงก็ไม่ควรมองข้าม
ทำความรู้จัก โรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
โรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ และกลุ่มอาการที่เกี่ยวข้องกัน ได้แก่ ปัสสาวะบ่อยมาก ทั้งกลางวัน กลางคืน ปวดกลั้นมาก ขณะที่จะไปห้องน้ำ จนบ่อยครั้ง หรือบางครั้ง กลั้นไม่อยู่ ราดออกไปก่อน สตรีหลังคลอดบุตรตามธรรมชาติ ผ่านช่องคลอด 2 – 3 คนแล้ว อาจจะพบว่า มีอาการปัสสาวะเล็ดออกมาบ้าง ทั้งน้อยหรือมาก เมื่อเวลาเป็นหวัด มีไอและจาม พบว่าปัสสาวะเล็ด เรียกว่า ปัสสาวะเล็ด เมื่อมีการออกแรงเบ่งช่องท้อง (Stress Urinary Incontinence, SUI) รวมทั้งอาจเกิดขึ้นได้ เมื่อก้มลงยกของหนัก จากพื้น หรือ กระโดดออกเอกเซอร์ไซส์ หรือแม้แต่ก้าวขึ้นบันไดหลายๆ ขั้นก็ตาม
สาเหตุของ โรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
สาเหตุหลักๆที่สำคัญ และเกี่ยวข้องโดยตรง ในสตรีเพศเป็นเพราะว่า กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อนลง บางทีเรียกกันว่า กระบังลม (เชิงกราน) หย่อน ลองนึกถึงภาพ เปลญวณที่ผูกขึงไว้หย่อน เมื่อมีแรงของน้ำหนักตัวที่ลงไปนั่งนอน ยิ่งหย่อนลงไปคล้ายๆ กับกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ที่หย่อนอาจจะดึงท่อปัสสาวะ และช่องคลอดหย่อนลงมาด้วย เป็นมุมที่ทำให้ปัสสาวะเล็ดราดออกมา ได้ง่ายนั่นเอง
ในความเป็นจริง โรคหรือกลุ่มอาการ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ นั้น มีมานานแล้วในอดีต โดยเฉพาะในเพศหญิง แม่บ้านที่คลอดบุตร 2 ถึง 3 หรือหลายคน ดังปรากฏว่าภาษาชาวบ้านในอดีตเรียกกันว่า โรคช้ำรั่ว คล้ายจะบอกเล่าว่า เป็นอาการที่เกิดความรู้สึกที่น่ารำคาญใจ ในการดำเนินชีวิตตามปกติทีเดียว ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ยังเป็นเรื่องของความเคยชินในสังคม ที่เรามักจะไม่อยากพูด หรือเปิดเผยอาการปัสสาวะ ที่มีปัญหาเหล่านี้กับผู้อื่น รวมทั้งประชาชน ผู้ซึ่งเจ็บป่วย ด้วยโรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ นี้ก็ไม่อยากจะไปปรึกษาแพทย์ ด้วยเช่นกัน เพราะอาจจะถูกมองว่าเป็นเรื่องที่น่าอับอาย หรือเป็นข้อห้ามไม่ควรจะบอกเล่าต่อกัน (Taboo) จวบจนอาการมากๆ ทั้งนี้จึงไปปรึกษาแพทย์ แนวโน้มเช่นนี้พบได้คล้ายคลึงกับในหลายๆ ประเทศ ทั้งในยุโรปและอเมริกา ประมาณกันว่ามีจำนวนประชากรทั่วโลก ไม่น้อยกว่า 200 ล้านคน กำลังมีปัญหาเรื่อง โรคอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (Urinary Incontinence) ซึ่งเป็นปัญหาทางการแพทย์ และ ภาวะแทรกซ้อน ที่ตามมาโดยเฉพาะการ อักเสบทางเดินปัสสาวะ และระคายเคือง
ประเภทโรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
โรค/กลุ่มอาการปัสสาวะกลั้นไม่อยู่ (Urinary Incontinence) ในมุมมองของการแพทย์ในปัจจุบัน มีการจัดจำแนกอาการเหล่านี้เป็นรายละเอียดให้ ชัดเจนมากยิ่งขึ้นไป เพื่อการซักถามปรึกษาอาการ และแนวทางการตรวจวิฉิจฉัย และก ารวางแผนการปรึกษา และแนะนำผู้ป่วยต่อไป
โรคกลุ่มอาการ ปัสสาวะกลั้นไม่อยู่ แบ่งออกได้ดังต่อไปนี้
ปัสสาวะกลั้นไม่อยู่ที่เป็นมาแต่กำเนิด (Congenital)
ปัสสาวะรดที่นอน (Bed Wetting Enuresis)
ปัสสาวะกลั้นไม่อยู่จากระบบประสาท (Neurogenic)
ปัสสาวะเล็ดเมื่อออกแรงเบ่ง (Stress Urinary Incontinence)
ปัสสาวะราดกลั้นไม่ได้ (Urge Incontinence)
ปัสสาวะเล็ดและราดร่วมกัน (Mixed Incontinence) หมายถึงอาการข้อ 4 และข้อ 5 เป็นร่วมกัน
ปัสสาวะล้นซึม (Over Flow Incontinence)
ปัสสาวะบ่อยมากในช่วงกลางวัน (Urinary Freguency Daytime)
ปัสสาวะบ่อยในช่วงเวลากลางคืน (Nocturia Night Time) ปัสสาวะปวดกลั้น (Urgency)
กระเพาะ, ปัสสาวะไวเกิน (Over Active Bladder) หมายถึงกลุ่มอาการในข้อ 5, 8, 9 และ10 รวม ๆ กัน)
รักษา โรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
การรักษา โรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ และกลุ่มอาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน ในที่นี้จะเน้น โรคปัสสาวะเล็ด เวลาออกแรงเบ่ง เช่น ไอหรือ จาม (Stress Urinary Incontinence) เป็นหลัก รวมทั้ง ปัสสาวะปวดกลั้น และ ราดออกไปก่อน จะเดินถึงห้องน้ำ (Urgency Incontinence) และหรือกลุ่มความรู้สึก กระเพาะปัสสาวะไวเกิน (Over Active Bladder)
1.การบริหารฝึกฝนกล้ามเนื้ออุ้งกราน Kegel Exercise
2.การบริหารทานยา
ปกติไม่สามารถช่วยในกลุ่มอาการปัสสาวะเล็ดได้ เนื่องจากเป็นปัญหาของกลุ่มกล้ามเนื้อเชิงกราน ยาอาจจะช่วยได้ในอาการปัสสาวะกลั้นไม่อยู่ Urgency Incontinence เท่านั้น แต่อาจมีผลข้างเคียงทำให้ปัสสาวะขัดไปอีกด้วย
3.การผ่าตัดรักษาผ่านบริเวณช่องคลอด
ในกรณีที่ผู้ป่วยอาการเป็นมากและเป็นมานาน อาจจะไม่สามารถหายได้จากการฝึกฝนกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน อาจจะต้องได้รับการผ่าตัดรักษา ใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เป็นสาย Sling ยกให้ท่อปัสสาวะส่วนต้นและกระเพาะปัสสาวะไม่หย่อนลงไปตามกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
4.ป้องกัน ดูแลและรักษา อาการต่อมลูกหมากโต ด้วยนวัตกรรมอาหารเสริม HASHI-P FLOW ช่วยแก้อาการ ต่อมลูกหมากโต ปัสสาวะกระปริดกระปอย ปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะติดขัด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่พุ่ง โดยไม่ใช้ยา ไม่ต้องผ่าตัด
28 มี.ค. 2566
21 มี.ค. 2566