ปัสสาวะบ่อยเกินไป อาการของโรคปัสสาวะ ที่หลายคนไม่รู้ตัว

Last updated: 21 พ.ย. 2565  |  307 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ปัสสาวะบ่อยเกินไป

ปัสสาวะบ่อยเกินไป อาการของโรคปัสสาวะ ที่หลายคนไม่รู้ตัว
ภาวะปัสสาวะบ่อยเกินไป เป็นภาวะที่ส่งผลกระทบ ต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย เป็นอย่างมาก บางรายไม่รู้ตัวว่าเป็นอยู่ หรือไม่รู้ตัวว่ามีอาการที่เข้าข่ายโรคนี้ โดยผู้ที่เป็นโรคนี้ จะมีอาการปวด ปัสสาวะบ่อย กว่าคนทั่วไป ทุกครั้งที่ปวด จะมีอาการรุนแรง ที่ต้องเข้าห้องน้ำให้ได้ อาจปวดทุกชั่วโมง จนไม่เป็นอันทำอะไรเลย แม้แต่ตอนกลางคืน ก็นอนไม่ได้ เพราะต้องลุกมาเข้าห้องน้ำทั้งคืน สร้างความทุกข์ทรมาน และ ความรำคาญ ให้กับผู้ที่เป็นโรคดังกล่าวนี้

ในภาวะของคนปกติ
เมื่อมีน้ำอยู่ใน กระเพาะปัสสาวะ ในปริมาณครึ่งหนึ่ง ของกระเพาะปัสสาวะ คนทั่วไปจะเริ่มรู้สึกหน่วงๆบริเวณท้องน้อย ยังไม่ถึงขั้นที่เรียกว่าปวด แต่หากเดินผ่านห้องน้ำ ก็อาจจะแวะเข้าห้องน้ำ เพื่อปลดความหน่วงนั้นทิ้งไป แต่ถ้ายังหาห้องน้ำไม่ได้ หรือติดธุรอื่นอยู่ที่สำคัญ จะยังไม่ขวนขวาย ที่จะเข้าห้องน้ำ กระทั่งมีน้ำอยู่ ในกระเพาะปัสสาวะจนเต็ม กระเพาะปัสสาวะ จะเกิดการบีบตัว และปวดในที่สุด และเมื่อปวด คนปกติจะเข้าห้องน้ำ และ ถ่ายปัสสาวะ ตามลำดับ

แต่ถ้าหากเป็นคนที่ผิดปกติ หรือ มีภาวะ กระเพาะปัสสาวะบีบตัว ไวเกินไป
จะรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อย เกือบทุกชั่วโมง หากเป็นเวลากลางคืน จะนอนไม่เพียงพอ เพราะต้องลุกมาเข้าห้องน้ำทั้งคืน ซึ่ง กระเพาะปัสสาวะ จะเกิดการบีบตัว ทั้งที่น้ำยังไม่เต็ม กระเพาะปัสสาวะ เมื่อขับถ่ายออกมา จะมีปริมาณน้อย สวนทางกับอาการปวด เพราะคนที่มีภาวะนี้ จะรู้สึกปวดหนักมาก และ ต้องเข้าห้องน้ำให้ได้ และ อาจกลั้นไม่อยู่ จนต้องปล่อยราดออกมาเลย

สาเหตุที่แท้จริงของภาวะปัสสาวะบ่อย
ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่สรุปคร่าวๆได้ว่า มีมีอะไรบางอย่าง รบกวนการทำงาน ของกระเพาะปัสสาวะ โดยทั่วไปเกี่ยวข้องกับ ระบบประสาทควบคุม ทำให้มีการบีบตัวไวเกินไป แต่อย่างไรก็ตาม อาจมีโรคอื่นที่ไม่ใช่ กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินไป เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน

ส่วนใหญ่แล้ว ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินไป จะเกี่ยวข้องกับความผิดปกติ ของกระเพาะปัสสาวะโดยตรง
เช่น การอักเสบ เรื่องของ โรคในกระเพาะปัสสาวะ เช่น มีนิ่วหรือก้อนเนื้องอก หรือความผิดปกติของอวัยวะข้างเคียง เช่น ในผู้หญิงอาจมีความผิดปกติ ของมดลูก เรื่องของฮอร์โมนที่ขาดไป แต่เรื่องสำคัญที่พบว่ามีความเกี่ยวข้องกัน ที่ต้องทำการแยกแยะ คือความผิดปกติ ของระบบประสาทสั่งการทั้งสมอง ไขสันหลัง และส่วนต่างๆ ทั้งหมด

สาเหตุที่แท้จริงนั้น ยังไม่ทราบแน่ชัด
แต่พบว่ามีหลายอย่าง มากระตุ้นได้ เช่น อุปนิสัย เครื่องดื่มบางชนิด การใช้ชีวิต อย่างเช่นบางคน อาจมีภาวะที่ต้อง กลั้นปัสสาวะ อยู่เรื่อยๆ รวมถึงอาหารบางอย่าง มีคุณสมบัติในการ เร่งการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ เช่น คาเฟอีน เครื่องดื่มที่มีรสจัด โซดา อาหารต่างๆ ที่มีรสจัด เครื่องเทศ วาซาบิ เป็นต้น

ภาวะปัสสาวะบ่อย สามารถพบได้ทั้งใน ผู้ชาย และ ผู้หญิง
แต่อาจพบ ที่ช่วงอายุต่างกัน ในผู้หญิง มักพบในวัยทำงาน วัยมหาวิทยาลัย แต่ในผู้ชาย จะพบเมื่ออายุมากกว่า อาจเกิดมาจาก ต่อมลูกหมากโต หรือ การทำงานของสมองเริ่มบกพร่อง

วิธีสังเกตว่าตัวเองเข้าข่าย ภาวะปัสสาวะบ่อย หรือไม่
ให้คุณเปรียบเทียบความถี่ ในการ ปวดปัสสาวะ หรือ ความถี่ในการเข้าห้องน้ำของตัวเอง กับคนรอบข้าง อาจเป็นเพื่อนที่ทำงาน หรือ ญาติพี่น้องในวัยเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน และ สังเกตความสามารถ ในการควบคุมปัสสาวะ ว่าสามารถทำได้มากน้อยแค่ไหน หากไม่สามารถควบคุมได้เลย พบปัญหา ปัสสาวะราด บ่อยๆ หรือ ตอนกลางคืน ลุกเข้าห้องน้ำจนไม่ได้หลับไม่ได้นอน แบบนี้ก็เข้าข่ายผิดปกติ ที่ควรจะต้องไปพบแพทย์

ผลกระทบจาก ภาวะปัสสาวะบ่อย คือ
ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียโอกาส บางอย่าง ในชีวิต เช่น การเดินทางไปในบางที่ก็อาจไม่กล้าไป เพราะกลัวจะปวดปัสสาวะระหว่างเดินทาง ไปได้เฉพาะสถานที่เดิมๆ ที่รู้ว่าห้องน้ำอยู่ไหน และอาจต้องวางแผนเตรียมการล่วงหน้า ว่าเมื่อ ปวดปัสสาวะ จะสามารถวิ่งไปทิศไหน เพื่อเข้าห้องน้ำได้เร็วที่สุด อย่างโอกาสเดินทางไปต่างประเทศ แทบไม่มีเลย อาจทำให้เก็บเนื้อเก็บตัว ไม่อยากเข้าสังคม ที่กลายเป็นปัญหาระยะยาว และ ส่งผลต่อการเกิดโรคซึมเศร้าได้ หากในผู้สูงอายุมีภาวะดังกล่าวแล้ว ลูกหลานไม่เข้าใจ อาจถูกทิ้งไว้ที่บ้าน หรือจะไปไหนสักครั้ง ก็ต้องสำรองเสื้อผ้าไว้เยอะๆ เพื่อรองรับการสับเปลี่ยน เมื่อปัสสาวะราด ส่งผลกระทบทางจิตใจ อย่างเห็นได้ชัด ส่วนร่างกาย อาจมีผื่น หรือ กลิ่นไม่พึงประสงค์ด้วย

ภาวะ ปัสสาวะบ่อย เกินไป ไม่อันตรายถึงชีวิต
เพียงแต่จะรบกวน การใช้ชีวิตของผู้ป่วย ขึ้นอยู่กับการใช้ชีวิต ของแต่ละท่านด้วย จึงจะประเมินได้ว่า กระทบมากน้อยแค่ไหน หากรู้สึกว่าเป็นอุปสรรค ในการใช้ชีวิตมากๆ ก็ควรเข้ารับการรักษา ซึ่งในการรักษา แพทย์จะทำการตรวจดูก่อน เพื่อแยกเอาโรคอื่นออกไป โดยเฉพาะโรคที่อาการคล้ายๆกัน เช่น โรคเบาหวาน เนื้องอกในสมอง เป็นต้น หากพบเจอโรคเหล่านี้ ก็จะทำการรักษาโรคดังกล่าว แล้ว ภาวะปัสสาวะบ่อยเกินไป ก็จะหายไปเอง
แต่ถ้าหากตรวจไม่พบโรคอะไรเลย จึงจะทำการรักษาอาการบีบตัวไวเกินไป ของ กระเพาะปัสสาวะ ตามลำดับ ที่อาจเกิดจาก พฤติกรรมของผู้ป่วย เช่น การรับประทานอาหาร ที่มีคุณสมบัติในการกระตุ้นการบีบตัวของ กระเพาะปัสสาวะ หากพบว่าคนไข้มีพฤติกรรมดังกล่าว ก็ต้องให้คนไข้งดอาหารเหล่านั้น หรือ การดื่มน้ำบ่อยในคนไข้บางราย หากพบว่ามีพฤติกรรมเหล่านี้ ต้องให้คนไข้ปรับการดื่มน้ำ จากที่ดื่มตลอดทั้งวัน ก็ต้องเปลี่ยนไปดื่มเป็นช่วงๆ ในผู้หญิงอาจต้องฝึกฝนการขมิบ ช่วย บรรเทากระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินไป ได้เช่นกัน

นอกจากนี้การรักษาโดยการพบแพทย์แล้ว รับประทานอาหารเสริม HASHi-P-FLOW เพื่อรักษา ก็เป็นอีกหนึ่งวิธี ในกรณีที่ปรับพฤติกรรมแล้วไม่สำเร็จ ก็ต้องใช้ อาหารเสริม P-FLOW P-FLOW เพื่อป้องกัน ดูแลและรักษา อาการต่อมลูกหมากโต ด้วยนวัตกรรมอาหารเสริม HASHI-P FLOW ช่วยแก้อาการ ต่อมลูกหมากโต ปัสสาวะกระปริดกระปอย ปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะติดขัด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่พุ่ง ต่อมลูกหมากโต

รับข่าวสารก่อนใครคลิกเลย 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้