ต่อมลูกหมากโต คืออะไร? ทำไมผู้ชายทุกคนถึงเสี่ยงที่จะเป็นต่อมลูกหมากโต

Last updated: 20 ส.ค. 2565  |  387 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ต่อมลูกหมากโตคืออะไร

ต่อมลูกหมากโต คืออะไร? ทำไมผู้ชายทุกคนถึงเสี่ยงที่จะเป็นต่อมลูกหมากโต

ต่อมลูกหมาก ( PROSTATE ) คืออะไร?

ต่อมลูกหมาก ( PROSTATE ) คืออวัยวะในระบบสืบพันธุ์เพศชาย มีลักษณะคล้ายลูกเกาลัด อยู่รอบท่อปัสสาวะส่วนต้น บริเวณปากทางออกของกระเพราะปัสสาวะ ไม่สามารถตรวจพบได้ภายนอก และจะหยุดเจริญเติบโต เมื่อผู้ชายเข้าสู่วัยเต็มตัว ( ราวๆ อายุ 25 ปี )
มีหน้าที่สำคัญในการผลิตน้ำเมือก และน้ำหล่อเลี้ยงตัวอสุจิ ซึ่งของเหลว 30% ของน้ำอสุจิ จะถูกผลิตจาก ต่อมลูกหมาก ซึ่งจะทำให้อสุจิเดินทาง และ มีชีวิตรอดอยู่ได้นานมากขึ้น ดังนั้นโรคนี้จึงเกิดได้เฉพาะผู้ชายเท่านั้น เมื่อผู้ชายอายุมากขึ้น ต่อมลูกหมาก จะยิ่งมีขนาดใหญ่ขึ้น และเนื้อเยื่อจะมีการเปลี่ยนแปลง เป็นเนื้องอกธรรมดา แต่ไม่ใช่ เนื้องอกมะเร็ง ปัจจัยที่ทำให้โตขึ้นเรื่อยๆ เชื่อว่าอาจจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงตาม ฮอร์โมนเพศชาย และวัย ซึ่งพฤติกรรมต่างๆ ในการใช้ชีวิตประจำวัน อาจก่อให้เกิดการเป็นโรคต่อม ลูกหมากโต ได้ง่าย และไวยิ่งขึ้น จากการสำรวจพบว่า ผู้ชายวัย 40 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงสูง 30% และมีความเสี่ยงมากขึ้นเรื่อยๆ ถึง 80% จนถึงอายุ 60 และ70 ปี อัตราเสี่ยงอาจเพิ่มมากขึ้น หากมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องร่วมด้วย

ต่อมลูกหมากโต คืออะไร? ทำไมผู้ชายทุกคนถึงเสี่ยงที่จะเป็น

ต่อมลูกหมากโต คืออะไร คือภาวะที่อวัยวะหนึ่งในระบบสืบพันธุ์ชื่อ “ต่อมลูกหมาก” เกิดการขยายตัวใหญ่ขึ้นจนไปเบียดบัง “ท่อปัสสาวะ” ส่งผลให้ท่อปัสสาวะตีบและมีขนาดเล็กลง จนทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการปัสสาวะติดขัด ปัสสาวะไม่ออก ไม่พุ่ง
รู้สึกว่าต้องใช้แรงเบ่ง แถมเบ่งยาก หากอาการหนักมากอาจมีอาการปัสสาวะเล็ดและปัสสาวะเป็นเลือดด้วย โดยโรคนี้เกิดขึ้นแต่กับผู้ชายเท่านั้น โรคต่อมลูกหมากโต เป็นโรคสามัญประจำเพศชาย เพราะการสำรวจพบว่า ผู้ชายวัย 40 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงสูง 30%
และมีความเสี่ยงมากขึ้นเรื่อยๆ ถึง 80% จนถึงอายุ 60และ70 ปี อัตราเสี่ยงอาจเพิ่มมากขึ้นหากมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องร่วมด้วย

ต่อมลูกหมากโต คือ เนื้องอกธรรมดา
เนื้องอกธรรมดา ( BENIGN TUMOR )
ต่อมลูกหมากโต คือเนื้องอกที่เกิดขึ้น แล้วจะไม่ลุกลามหรือแพร่กระจาย ไปสร้างความเสียหายต่อเซลล์เนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียงส่วนอื่นๆ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่อันตรายเลย เพราะเนื้อเยื่อธรรมดานี้ อาจก่อความเสียหายต่อร่างกายได้ เนื่องจากเนื้องอกนี้ไปกดทับอวัยวะสำคัญส่วนอื่นๆบริเวณใกล้เคียง

เนื้องอกธรรมดามีหลายชนิด โดยชนิดที่พบได้บ่อย ได้แก่

  ฮีแมงจิโอมา ( HEMANGIOMAS )
คือการรวมตัว ของเซลล์หลอดเลือดในผิวหนัง หรือในอวัยวะภายในเกิดเป็นเนื้องอก ปรากฏในรูปของปานสีดำคล้ำหรือสีแดง

  อะดีโนมา ( ADENOMAS )
คือเนื้องอก ที่เกิดขึ้นบริเวณเนื้อเยื่อบุผิว ของต่อมภายในร่างกาย ซึ่งเนื้องอกชนิดนี้ อาจพัฒนาไปเป็นเนื้อร้ายได้ แต่มีโอกาสเกิดน้อยกว่า 1 ใน 10 ครั้งที่พบเนื้องอกชนิดนี้

  ไฝ หรือปาน ( NEVI / MOLES )
คือเนื้องอก ที่เกิดขึ้นที่ผิวหนัง อาจเป็นจุดหรือบริเวณสีชมพู สีแทน สีน้ำตาล ไปจนถึงสีดำคล้ำ หากไฝหรือปานมีการเจริญเติบโตขึ้นอย่างผิดปกติหรือผิดรูปร่างไปจากเดิม อาจเป็นสัญญาณเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ

  ออสทีโอคอนโดรมา ( OSTEOCHONDROMA )
คือเนื้องอก บริเวณกระดูก ที่ทำให้เกิดปุ่มนูนตรงข้อต่อ อย่างหัวเข่าหรือหัวไหล่

  ปาปิลโลมา ( PAPILLOMAS )
คือเนื้องอก ที่เกิดขึ้นบริเวณเนื้อเยื่อบุผิว ลักษณะคล้ายรูปนิ้วมือ อาจเกิดขึ้นบริเวณผิวหนัง หรือเยื่อบุหนังตา

  ไลโปมา ( LIPOMAS )
หรือ เนื้องอกไขมัน คือ เนื้องอก ที่เกิดจากเซลล์ไขมัน มักเกิดขึ้นบริเวณลำคอ แขน ไหล่ หรือหลัง ลักษณะกลม เคลื่อนไปมาได้ ก้อนนุ่ม และเจริญเติบโตอย่างช้า ๆ

  ไฟโบรมา หรือไฟบรอยดส์ ( FIBROMAS / FIBROIDS )
อาจเกิดกับเนื้อเยื่อบนร่างกาย โดยมากมักเกิดขึ้นในมดลูก และสร้างความเสียหาย ทำให้มีอาการอย่างเลือดไหลออกจากช่องคลอด ปวดท้องน้อย หรือมีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ

  ไมโอมา ( MYOMA )
คือเนื้องอก ของกล้ามเนื้อ เติบโตในกล้ามเนื้อเรียบบริเวณอวัยวะต่างๆ เช่น กล้ามเนื้อของผนังกระเพาะอาหาร มดลูก หลอดเลือด

  นิวโรมา ( NEUROMAS )
คือ เนื้องอก ที่เจริญเติบโตบริเวณเส้นประสาท พบมากในผู้ป่วยโรคทางพันธุกรรม นิวโรไฟโบรมาโตสิส ( NEUROFIBROMATOSIS ) หรือโรคท้าวแสนปมนั่นเอง

  เมนิงจิโอมา ( MENINGIOMAS )
คือ เนื้องอก ที่เกิดขึ้นบริเวณเยื่อหุ้มสมอง และเยื่อหุ้มไขสันหลัง อาจจะทำให้เกิดอาการทางสมอง และระบบประสาท เช่น ชัก บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง ปวดหัว อ่อนแรงครึ่งซีก มีปัญหาทางการมองเห็น เป็นต้น

รับข่าวสารก่อนใครคลิกเลย

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้