Last updated: 27 ก.ย. 2565 | 288 จำนวนผู้เข้าชม |
ปัสสาวะไม่ออก รีบเช็คด่วน อาจเป็นอันตราย!
ปกติคนเราถ่ายปัสสาวะ วันละประมาณ 3-4 ครั้ง ครั้งละประมาณ 300-500 มิลลิลิตร แต่ในช่วงกลางคืน หลังจากนอนหลับไปแล้ว มักไม่ลุกขึ้นมาถ่าย การถ่ายปัสสาวะต้องอาศัย กระเพาะปัสสาวะ และ ท่อปัสสาวะ ซึ่งมีระบบประสาทมาควบคุมการทำงานให้ปกติ โดย กระเพาะปัสสาวะ จะบีบตัวไล่น้ำปัสสาวะ ออกทางท่อปัสสาวะ เมื่อมีความรู้สึกปวด
ปัสสาวะไม่ออก เกิดจากสาเหตุอะไร
ปัสสาวะไม่ออก มีสาเหตุหลักๆ คือ กระเพาะปัสสาวะไม่บีบตัว มีการอุดกั้นของท่อปัสสาวะ
ทำไมกระเพาะปัสสาวะถึงไม่บีบตัว
อาจเกิดจากระบบประสาท ที่มาเลี้ยงกระเพาะปัสสาวะ ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ โดยอาจมีความผิดปกติตั้งแต่สมอง ไขสันหลัง และปลายประสาท ที่มาเลี้ยง กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ ซึ่งอาจเกิดจากอุบัติเหตุ การผ่าตัดจาก โรคของระบบประสาท ที่พบมากคือ กระดูกสันหลัง ได้รับบาดเจ็บ เช่น หักทำให้ ประสาทไขสันหลัง เสียหน้าที่ไป หรือจาก โรคเบาหวาน ที่ทำให้ปลายประสาทเสียหน้าที่ และที่ กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ ไม่สามารถบีบตัวได้ อาจเกิดจากกระเพาะปัสสาวะ ถูกยืดจากน้ำปัสสาวะ เต็มเกินความจุของกระเพาะเอง เนื่องจากมีการอุดกั้นทางออก ของกระเพาะปัสสาวะ เช่น ต่อมลูกหมากโต หรือจากการที่มีโรคของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ ทำให้บีบตัวไม่ได้
มีการอุดกั้น ของท่อปัสสาวะ
ส่วนใหญ่ที่ ปัสสาวะไม่ออก มักมีการอุดกั้นของท่อปัสสาวะ เกิดได้หลายสาเหตุ อาทิ
1. โรคต่อมลูกหมากโต เป็นเนื้องอกธรรมดา ที่พบในชายสูงอายุ มักพบมากในช่วงอายุ 60-80 ปี
เช่นเดียวกันกับ มะเร็งต่อมลูกหมาก เมื่ออายุมากขึ้น ต่อมลูกหมาก จะค่อยๆ โตขึ้น และชายสูงอายุ 2 ใน 5 คนจะมีอาการ ถ่ายปัสสาวะผิดปกติ คือ มีประวัต ิปัสสาวะบ่อย ต้องเบ่ง ปัสสาวะรอนานกว่าจะออก ปัสสาวะลำบาก และไม่หมด กลุ่มนี้อาจได้รับการรักษามาก่อนหรือไม่ก็ได้ อาการจะเป็นมากจนกระทั่งปัสสาวะไม่ออก เมื่อไปกลั้นปัสสาวะ กินยาแก้หวัดลดน้ำมูก ยาแก้ท้องเสีย หรือมักเกิดในช่วงฤดูฝน ฤดูหนาว หรือมีประวัติดื่มสุรา หรือไวน์
2. คอกระเพาะปัสสาวะตีบแคบ พบได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ในวัยกลางคนขึ้นไป ส่วนใหญ่อายุมากกว่า 40 ปี
3. ภาวะท่อปัสสาวะตีบ ผู้ป่วยมักมีประวัติอุบัติเหตุบาดเจ็บของท่อปัสสาวะ มาก่อน เช่น กระดูกเชิงกรานหัก หรือหกล้มคร่อมตอ แล้วทำให้มี ท่อปัสสาวะฉีกขาด ในผู้ป่วยหญิงมักพบว่ามีการตีบตันของท่อปัสสาวะส่วนปลาย เนื่องจากขาดฮอร์โมนเพศหญิง
4. ภาวะหูรูดของท่อปัสสาวะบีบรัดตัวผิดปกติ พบได้ในผู้ที่มีประวัติการผ่าตัด ทางทวารหนัก เช่น ริดสีดวงทวาร หรือฝีคัณฑสูตร หรือมีประวัติประสาทไขสันหลังได้รับบาดเจ็บหรือมีการอักเสบ
นอกจากนี้ยังพบว่าเกิดจาก นิ่วหรือก้อนเลือด ไปอุดตันท่อปัสสาวะ และในรายที่ท้องผูกมาก อุจจาระจะไปอัดที่ทวารหนัก แล้วไปกดท่อปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะไม่ออก รวมทั้ง ภาวะต่อมลูกหมากอักเสบเฉียบพลัน ก็ทำให้ ปัสสาวะไม่ออก ได้เช่นกัน ผู้ป่วยที่ปัสสาวะไม่ออกเฉียบพลัน จะมีอาการ ปวดปัสสาวะ อย่างมาก ทุรนทุราย และพบว่ามีก้อนเหนือหัวเหน่า นั่นหมายถึง กระเพาะปัสสาวะที่มีน้ำปัสสาวะอยู่เต็ม
ส่วนในรายที่ปัสสาวะไม่ออก เนื่องจากระบบประสาท ที่ควบคุมเสียหายจนไม่มี อาการปวดปัสสาวะ แต่เมื่อคลำพบก้อนที่ท้องน้อย กลุ่มนี้อาจมี อาการของไตวาย และยังตรวจพบการเกิด โรคของระบบประสาทเสีย ร่วมด้วย
ผลแทรกซ้อนตามมาจากอาการปัสสาวะไม่ออก
1. อาการปวด
เป็นอาการที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์ ผู้ป่วยมีอาการ ปวดทุรนทุราย และ มีก้อนที่หน้าท้อง
2. มีการติดเชื้อ
เพราะมีน้ำปัสสาวะค้างอยู่ ทำให้มีการติดเชื้อง่าย บางคนมีไข้สูง หนาวสั่น น้ำปัสสาวะขุ่น บางราย เป็นหนอง
3. ทำให้เกิดนิ่วได้
การที่มีปัสสาวะคั่งค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิด นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ได้
4. ไตวาย
เนื่องจาก มีน้ำเต็มกระเพาะปัสสาวะ น้ำปัสสาวะจากท่อไต ก็ไหลลงมาไม่ได้ ทำให้การกรองของเสียจากไตเสียไป มีของเสียในร่างกายท่วมท้น ผู้ป่วยอาจมี อาการซีดโลหิตจาง เหนื่อย ภาวะเลือดเป็นกรด สารโพแทสเซียมในเลือดสูง เกร็ดเลือดทำหน้าที่เสียไป ทำให้เลือดออกง่าย
5. ในผู้ป่วยส่วนหนึ่งที่เป็นผู้หญิง และมีประวัติเป็น มะเร็งในช่องเชิงกราน
โดยเฉพาะ มะเร็งปากมดลูกได้รับการฉายแสงและฝังแร่ พวกนี้มักมีประวัติ ปัสสาวะเป็นเลือด เป็นๆหายๆ ในรายที่รุนแรง ก็มีเลือดออกมาก พร้อมกับมีก้อนเลือดออกมา ทำให้อุดกั้นทางเดินปัสสาวะ ปัสสาวะไม่ออก พวกนี้มีอาการซีดอ่อนเพลีย และบางรายมีไตวายร่วมด้วย
วิธีการรักษาโดยการไปพบแพทย์
การรักษาที่สำคัญในระยะแรกต้องทำให้น้ำปัสสาวะออกก่อน มีหลายวิธี ได้แก่
ใส่สายสวนปัสสาวะเพื่อให้น้ำปัสสาวะออก แล้วคาสายสวนไว้ก่อน
ในรายที่มีเลือดออกและมีก้อนเลือด ต้องสวนล้างเอาก้อนเลือดออกให้หมดหากยังมีเลือดไหลอยู่ให้ใช้ไฟฟ้าจี้ห้ามเลือด หรือคาสายสวนปัสสาวะ แล้วสวนล้างด้วยน้ำเกลือ
ในรายที่ใส่สายสวนไม่ได้ เนื่องจากท่อปัสสาวะตีบ หรือต่อมลูกหมากโตมาก หรือมีนิ่วมาอุดก็ต้องใช้เครื่องมือขยายท่อปัสสาวะ และใส่สายสวนปัสสาวะ หากเป็นนิ่วก็ใช้เครื่องมือดันนิ่วเข้ากระเพาะปัสสาวะ แล้วก็คาสายสวนปัสสาวะ
ในรายที่ไม่สามารถใส่สายสวนปัสสาวะ หรือขยายท่อปัสสาวะได้ ก็ต้องระบายน้ำปัสสาวะออกทางหน้าท้อง โดยการผ่าตัด หรือเจาะรูใส่สายสวนปัสสาวะทางหน้าท้องเหนือหัวหน่าว
การรักษาด้วย HASHI-P-FLOW
ป้องกัน ดูแลและรักษา อาการต่อมลูกหมากโต ด้วยนวัตกรรมอาหารเสริม HASHI-P FLOW ช่วยแก้อาการ ต่อมลูกหมากโต ปัสสาวะกระปริดกระปอย ปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะติดขัด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่พุ่ง ต่อมลูกหมากโต ทั้ง 3 ระยะ หายได้ไม่ต้องทานยา ไม่ต้องผ่าตัด
28 มี.ค. 2566
21 มี.ค. 2566