Last updated: 28 ต.ค. 2565 | 296 จำนวนผู้เข้าชม |
ปัสสาวะขัด ปัสสาวะบ่อย เสี่ยงต่อมลูกหมากโต
คุณผู้ชายที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป คุณเคยสังเกตตัวเองไหมว่า คุณมีอาการเหล่านี้บ้างหรือไม่ ปัสสาวะขัด ปัสสาวะไม่พุ่ง ปัสสาวะสะดุด เบ่งนานกว่าจะออก ปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน โดยอาการที่ว่ามานี้ จะเริ่มแสดงออกอย่างชัดเจน หลังจากอายุ 50 ปี ขึ้นไปแล้ว ซึ่งสาเหตุมาจาก ต่อมลูกหมากโต ขึ้นไปกดเบียดท่อปัสสาวะให้แคบลง ทำให้เกิดอาการปัสสาวะผิดปกติ นั่นเอง และเมื่ออายุมากขึ้น โอกาสที่จะเกิดอาการดังกล่าว ก็จะเพิ่มสูงขึ้น
หากคุณมีอาการเหล่านี้ เสี่ยงต่อมลูกหมากโต
ปัสสาวะขัด ต้องเบ่ง ใช้เวลานานกว่าจะเสร็จ
มีปัญหาเรื่องการไหลของ ปัสสาวะ ปัสสาวะไม่เป็นสาย ปัสสาวะไหลกระปริบๆ
ปัสสาวะสะดุด ไหลๆ หยุดๆ
ปัสสาวะบ่อยขึ้น บ่อยมากๆ
ปัสสาวะไม่สุด และมีหยดๆ ตามมาตอนท้าย
ตื่นบ่อยๆ เนื่องจากการ ปัสสาวะบ่อย
เกิดการ ปัสสาวะเล็ด เนื่องจาก ไม่สามารถควบคุมการปัสสาวะได้
ปัสสาวะแล้วมีอาการเจ็บ อาจจะทั้งองคชาติ และ หรือ อัณฑะ
ถ้าคุณมี 3 อาการขึ้นไป สันนิษฐานได้เลยว่า มีความผิดปกติบางอย่างกำลังเกิดขึ้นกับ ต่อมลูกหมาก ของคุณ ถึงเวลาแล้ว ที่คุณควรจะหันมาใส่ใจสุขภาพของ ต่อมลูกหมาก อย่างจริงจังก่อนจะนำไปสู่ กรวยไตอักเสบ และ ไตวายเรื้อรัง ในที่สุด
โรคต่อมลูกหมากโต ในผู้ชายทุกๆวัย
โรคต่อมลูกหมากโต (Benign Prostate Hypertrophy: BPH) คือภาวะที่ ต่อมลูกหมาก ซึ่งมีหน้าที่ผลิตน้ำเมือกหล่อลื่น และ เลี้ยงอสุจิ มีขนาดโตขึ้นตามอายุขัย เพราะมันถูกกระตุ้นโดยฮอร์โมนเพศชาย (แอนโดรเจน) ความที่ ต่อมลูกหมาก มันอยู่ในที่แคบ เมื่อมันโตถึงระดับหนึ่งแล้ว ก็จะกดทับท่อปัสสาวะ ทำให้มีอาการปัสสาวะลำบาก ผู้ชายอายุเกิน 50 ปีขึ้นไป จะเป็นโรคนี้ 1 ใน 3 เลยทีเดียว เรียกว่าเป็น โรคยอดนิยมของชายสูงอายุ ก็ว่าได้
ทั้งนี้ โรคต่อมลูกหมากโต หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี หรือปล่อยปะละเลย อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น เกิดปัสสาวะไม่ออกทันที หรือค่อยเป็นค่อยไป ต่อมลูกหมากบวม ปัสสาวะเป็นเลือด กระเพาะปัสสาวะคราก หรือมี นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ ไม่สามารถขับปัสสาวะออกได้หมด ส่งผลให้ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ รวมไปถึงการทำงานของไตเสื่อมลง และไตวายได้
การตรวจและวินิจฉัย โรคต่อมลูกหมากโต ของแพทย์ นั้นทำได้ดังต่อไปนี้
แพทย์อาจจะให้ผู้ป่วยทำแบบสอบถาม อาการด้านปัสสาวะของตัวเอง เพื่อประมาณความรุนแรง และใช้ในการติดตามอาการหลังจากรักษา และการตรวจอื่นๆ ดังนี้
ตรวจสอบร่างกาย และ ซักประวัติคนไข้โดยละเอียด
การตรวจ ต่อมลูกหมาก ทางท่อทวารหนัก “ดีอาร์อี” (Digital Rectal Examination) เพื่อดูลักษณะผิดปกติ และความแน่นของเนื้อ ต่อมลูกหมาก
ทำการทดสอบ เพื่อวัดอัตราการไหล ของปัสสาวะ
ตรวจเพาะเชื้อ จากปัสสาวะ
วัดปริมาณปัสสาวะ ที่เก็บอยู่ใน กระเพาะปัสสาวะ
อัลตราซาวด์ ขนาดต่อมลูกหมาก ที่เปลี่ยนแปลง
เจาะ PSA เพื่อแยก โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
โรคต่อมลูกหมากโต รักษาได้อย่างไร?
การรักษาจะมุ่งเน้น ที่จะให้อาการขับถ่ายปัสสาวะ ของผู้ป่วยดีขึ้น โดยมีวิธีการรักษาแบ่งเป็น 4 วิธี ดังนี้
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ในรายที่มีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น ลดการดื่มน้ำลง ในช่วงเวลากลางคืน ลดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ ถ้าอาการดีขึ้น ไม่จำเป็นต้องใช้ยา แต่หากปรับพฤติกรรมแล้วอาการไม่ดีขึ้น ต้องรักษาด้วยยาต่อไป
การรักษาด้วยยา
แพทย์อาจจะสั่งยาบางชนิดให้ เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อเรียบในต่อมลูกหมาก ให้มีลักษณะอ่อนตัวลง (Alpha-Blockers) หรือบางครั้งอาจใช้ Proscar (Finasteride) ซึ่งจะช่วยลดขนาดของ ต่อมลูกหมาก ให้มีขนาดเล็กลง แต่ถ้าในรายที่มีอาการปัสสาวะลำบาก มากขึ้น จนมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตประจำวัน หรือในรายที่เป็นมากๆ แต่อยู่ในระหว่างรอการผ่าตัด แพทย์จะให้การรักษาด้วยยา ตามความเหมาะสม แต่ละอาการของแต่ละบุคคล
การรักษาด้วยการผ่าตัด ด้วยการส่องกล้อง
เพื่อขูดตัดเอาชิ้นเนื้อ ส่วนที่เกินออกมาจาก ต่อมลูกหมาก (Transurethral Resection of the Prostate-TURP) เป็นการผ่าตัดที่นำเอาบางส่วนของ ต่อมลูกหมาก ที่ขวางท่อทางเดินปัสสาวะออกมา โดยใช้กล้องส่องผ่านท่อปัสสาวะ จากแพทย์จะใช้วิธีตัดหรือ ขูดต่อมลูกหมาก ออกเป็นชิ้นเล็กๆ ด้วยเครื่องมือแบบขดลวด สำหรับตัดและจี้ด้วยไฟฟ้า ที่มีความปลอดภัยสูง เพื่อตัด และ หยุดเลือดออกไปได้พร้อมกัน
การรับประทาน HASHI-P-FLOW
ป้องกัน ดูแลและรักษา อาการต่อมลูกหมากโต ด้วยนวัตกรรมอาหารเสริม HASHI-P FLOW ช่วยแก้อาการ ต่อมลูกหมากโต ปัสสาวะกระปริดกระปอย ปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะติดขัด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่พุ่ง ต่อมลูกหมากโต ไม่ต้องใช้ยา ไม่ต้องผ่าตัด
21 มี.ค. 2566
28 มี.ค. 2566